ทำความรู้จักGeneva seal สัญลักษณ์ทรงคุณค่า

นาฬิกาหรูจากสวิตเซอร์แลนด์ไม่เพียงเป็นแค่เครื่องบอกเวลา แต่เป็นสัญลักษณ์ของความหรูหราและความเป็นเอกลักษณ์ ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและกระบวนการผลิตที่ประณีต ทำให้นาฬิกาข้อมือจากสวิตเซอร์แลนด์เป็นที่ปรารถนาของคนทั่วโลกที่ต้องการความหรูหราและคุณภาพที่ดีที่สุดในการสวมใส่และสะสมไว้ในคอลเลคชั่นของตัวเอง

บทความนี้นำเสนอประวัติศาสตร์ของตราประทับ Geneva seal ที่มีความคุณค่าและเป็นสัญลักษณ์ของนาฬิกาชั้นสูงมานานเป็นเวลานาน แม้ว่าในปัจจุบันตราเจนีวาไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายเหมือนในอดีต แต่ก็ยังเป็นตำนานที่มีกฎอันเข้มงวด ที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมนาฬิกายกระดับการผลิตเจริญก้าวหน้าอย่างมาก

ต้นกำเนิด ตราสัญลักษณ์อันทรงคุณค่า Geneva Seal

Geneva seal เกิดขึ้นในเมือง Geneva ในศตวรรษที่ 17 เพื่อควบคุมคุณภาพของนาฬิกาให้เป็นไปตามมาตรฐานนาฬิกาสวิส สมาคมผู้ผลิตนาฬิกาแห่งสวิตเซอร์แลนด์ยื่นเรื่องให้รัฐบาลออกกฎในปี 1886 ให้นาฬิกาที่ผลิตในเจนีวาต้องผลิตตามข้อบังคับด้านเทคนิค 12 ประการเพื่อได้รับตราสัญลักษณ์คุณภาพ “Geneva Seal” ที่จะถูกประทับติดกับนาฬิกา.

นาฬิกาที่มีสัญลักษณ์ GENEVA SEAL คือเครื่องมือที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงในวงการนาฬิกา และมีแบรนด์นาฬิกาหรูเพียง 6 แบรนด์ที่ได้ครอบครองตราสัญลักษณ์ The Geneva Seal ในปี 2020 ซึ่งได้แก่ Cartier, Roger Dubuis, Chopard, Vacheron Constantin, Ateliers deMonaco และ Louis Vuitton ทั้งหมดเป็นแบรนด์นาฬิกาชั้นนำที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงลิบในวงการนาฬิกาโลก.

ข้อบังคับด้านเทคนิค 12 ประการ จึงจะได้ตรารับรองเครื่องหมายคุณภาพ “Poincon De Geneve” หรือ “Geneva Seal” ประทับติดกับนาฬิกา

  1. ส่วนประกอบเครื่อง รวมทั้งกลไกต่างๆ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานนาฬิกา ของสำนักงานตรวจสอบแห่งเจนีวา โลหะต้องผ่านการขัดเงา ผิวด้านหน้าที่เห็นได้ชัดต้องขัดให้เรียบ หัวสกรูขัดจนขึ้นเป็นเงา รวมถึงบริเวณร่องสกรูต้องได้รับการขัดแต่งขอบ
  2. ส่วนเคลื่อนไหวทั้งหมดต้องติดตั้งตามแนวที่กำหนด และหลีกห่างออกจากทับทิมประดับ ส่วนทางด้านสัน อัญมณีต้องติดตั้งโผล่ขึ้นมาครึ่งลูกออกหากจากช่องที่ได้รับการขัดเงาไว้ ตัวหยุดสำหรับล้อศูนย์กลางที่แผ่นฐานไม่จำเป็นต้องมี
  3. ส่วนทั้งหลายของบาลานซ์สปริงควรปักยึดลงในแผ่นร่อง ด้วยดุมที่มีหัวและบ่ารูปวงกลม โดยอนุญาตให้ใช้ดุมแบบเลื่อนขยับได้
  4. สามารถเลือกใช้เข็มชี้ได้แบบแยกส่วน หรืออาจจะประกอบโดยมีการจับยึด ยกเว้นเครื่องคาลิเบอร์ ที่บางเป็นพิเศษ และไม่จำเป็นต้องมีระบบจับยึด
  5. ระบบควบคุมหรือbalances ที่มีการหมุนของรัศมีที่มีการแปรผันอนุญาติให้ใช้ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดข้อ 1
  6. ล้อเฟืองต่าง ๆ ต้องมีการขัดเกลา ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง สำหรับเฟืองที่มีความหนาขนาด 1.5 มม.หรือบางกว่านั้นมีความจำเป็นต้องขัดเงา สำหรับด้านสันสามารถขัดเกลาด้านเดียวได้
  7. ส่วนประกอบต่างๆของเฟือง อาทิเช่น ก้านเดือย แกน และ ผิวหน้าของเฟืองเล็กที่เว้นไว้ต้องได้รับการขัดเงา
  8. เฟืองทั้งหมดต้องมีน้ำหนักเบา และหนาไม่เกิน 0.16 มม. ในคาลิเบอร์ขนาดใหญ่ และหนาไม่เกิน 0.13 มม. ในคาลิเบอร์ที่บางกว่า 0.18 มม. ผิวหน้าด้านล้อคต้องได้รับการขัดเงาเช่นกัน
  9. มุมที่มีการกวาดโดยกระเดื่องต้องถูกจำกัดและลิมิตด้วยตัวกั้น ขอบต้องเป็นแบบตายตัว เพื่อกันการดันของเข็ม หรือดุมต่าง ๆ
  10. กลไกเคลื่อนไหวที่ต่อเข้ากับระบบกันกระเทือน สามารถใช้ได้
  11. ล้อเฟืองRachet และล้อเฟืองของเม็ดมะยมต่างๆ จำเป็นต้องได้รับการปรับแต่ง ตามแบบที่ได้มีการขึ้นทะเบียนไว้
  12. ไม่อนุญาตให้ใช้ลวดสปริงอย่างเด็ดขาด
Share the Post:
thThai